วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อิทธิพลพายุไต้ฝุ่นหมุ่ยฟ้า

            (8 ส.ค.) สำนักข่าวต่างประเทศได้ประมวลภาพความเสียหายจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนหมุ่ยฟ้า ที่พัดเข้าถล่มบริเวณทะเลเหลือง ระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่และคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งได้สร้างความเสียหายและมีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งแล้วโดยพายุโซนร้อนหมุ่ยฟ้าที่เพิ่งอ่อนกำลังจากซูเปอร์ไต้ฝุ่นและพายุไต้ฝุ่นตามลำดับ เมื่อเข้าสู่ทะเลเหลือง แม้ว่าพายุลูกดังกล่าวจะยังไม่ขึ้นชายฝั่งแต่อิทธิพลของพายุก็สร้างความเสียหายไปทั่วพื้นที่ดังกล่าง โดยเฉพาะหลายเมืองในมณฑลซานตง มณฑลเจียงซู รวมทั้งเมืองใหญ่อย่างเซี่ยงไฮ้ และกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน
           นอกจากนี้กรุงโซลและหลายจังหวัดทางภาคตะวันตกของเกาหลีใต้ก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิตแล้ว 3 ราย สูญหาย 1 รายจากคลื่นลมทะเลแรง ส่วนในเกาหลีเหนือที่คาดว่าพายุลูกดังกล่าวน่าจะส่งผลซ้ำเติมเหตุอุทกภัยก่อนหน้านี้ น่าจะสร้างความเสียหายเพิ่มขึ้นอย่างหนัก แต่ยังไม่มีการรายงาน
            สำหรับพายุโซนร้อนหมุ่ยฟ้า คาดว่าจะขึ้นชายฝั่งชายแดนจีนและเกาหลีเหนือ บริเวณมณฑลเหลียวหนิงในช่วงเช้ามืดของวันพรุ่งนี้ (9 ส.ค.) ก่อนจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นและหย่อมความกดอากาศต่ำต่อไป ซึ่งสภาพดังกล่าวจะยังทำให้มีปริมาณฝนตกติดต่อไปอีกราว 1 สัปดาห์



 



 




 




           วานนี้ (8) เว็บไซต์เน็ตอีสของจีนได้เผยแพร่ภาพชุดของผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นหมุยฟ้า ขณะเคลื่อนตัวผ่านเมืองฉี่ตง ( ) เมืองชายฝั่งในมณฑลเจียงซู ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับมหานครเซี่ยงไฮ้ ในช่วงวันอาทิตย์และวันจันทร์ที่ผ่านมา ทำให้ความระดับความแรงของกระแสลมพุ่งสูงขึ้นไปราว 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่งผลให้ประชาชนชาวเมืองฉี่ตงที่สัญจรไปมาแทบจะปลิวไปตามแรงลม โดยรถจักรยานและรถจักรยานยนต์บางส่วนถึงกับล้มคว่ำ สาวหมวยคนนี้ยืนไม่อยู่จนต้องพึ่งเสาบันไดอาคารเพื่อยึดตัวเองไม่ให้ปลิวไปตามแรงลม หนุ่มสาวคู่นี้ถึงจะเปียกปอน แต่ก็มีความสุข ข่าวที่เกี่ยวข้อง จีนลดระดับความแรงพายุหมุยฟ้าจากไต้ฝุ่นเป็นโซนร้อน หวั่นไต้ฝุ่นหมุยฟ้า ชาวจีนอพยพแล้วครึ่งล้าน จีนเรียกเรือประมงกลับฝั่ง เตรียมรับมือ "หมุยฟ้า"

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

งานเครื่องยนต์เล็ก

          งานเครื่องยนต์เล็ก
ไอดี คือ ส่วนผสมระหว่างอากาศกับน้ำมันเบนซิน ในอัตราส่วนที่พอเหมาะแก่การเผา
ไหม้ด้วยประกายไฟจากหัวเทียน
อัตราส่วนผสมไอดีตามทฤษีทั่วไปใช้อากาศ 14 ส่วน น้ำมันเบนซิน 1 ส่วนโดยน้ำหนัก
ซึ่งน้ำหนักอัตราส่วนนี้จะเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับใช้ทำการเผาไหม้และให้กำลังสูง
แต่ตามความจริงนั้น ส่วนผสมไอดีก็ยังสามารถไหม้ได้ ถึงแม้ว่าจะมีอัตราส่วนผสม
หนาเป็น 7:1 หรือบางเป็น 20:1 ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความต้องการในการเผาไหม้คือ
อุณหภูมิ คุณสมบัติของน้ำมันเบนซินและสภาพของส่วนผสมในขณะนั้น
เรื่องระบบไอดีและกาวานาเครื่องยนต์เบนซิน
1. สาระสำคัญประจำหน่วย
2. คาร์บูเรเตอร์และถังน้ำมันเบนซิน
วงจรหลักของคาร์บูเรเตอร์
ถังน้ำมันเบนซินและกรองอากาศ
3. การทำงานของคาร์บูเรเตอร์แบบลิ้นเร่งเป็นแผ่น
4. หลักการทำงานของคาร์บูเรเตอร์แบบลิ้นเร่งเป็นลูกเลื่อน
5. หลักการทำงานของคาร์บูเรเตอร์แบบใช้สุญญากาศควบคุม
6. หลักการทำงานโช้คน้ำมันและการปรับเดินเบา
หลักการทำงานของโช้คน้ำมัน
โช้คแบบปุ่มกด
โช้คแบบลิ้นแผ่น
การปรับเครื่องยนต์เดินเบา
7. หลักการทำงานของกาวานาเครื่องยนต์เบนซินเล็ก
หน้าที่กาวานา (Governor)
ตำแหน่งดับเครื่อง
ตำแหน่งความเร็วรอบต่ำ
ตำแหน่งความเร็วรอบสูงสุด
ส่วนประกอบและกลไกกาวานาเครื่องยนต์ฮอนด้า G 150G 200
การซ่อมรถยนต์ต้องใช้เครื่องมือประจำตัวช่างเป็นส่วนใหญ่ แต่ในบางงานช่างไม่
สามารถที่จะใช้เครื่องมือประจำตัวช่างได้ จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่นอกเหนือไปจาก
เครื่องมือประจำตัวช่าง ที่เรียกกันว่า เครื่องมือพิเศษ (Service Special Tools =
SST)
เครื่องมือพิเศษออกแบบให้เหมาะสม ปลอดภัยและรวดเร็วกับงานแต่ละชนิด และรถ
แต่ละรุ่น ควรใช้ตามคำแนะนำในหนังสือคู่มือซ่อมของรถแต่ละรุ่น บางอย่างทำใช้เองได้
เรื่องเครื่องมือพิเศษและความปลอดภัยในงานเครื่องล่าง
1. สาระสำคัญประจำหน่วย
2. เครื่องมือพิเศษสำหรับงานเครื่องล่าง (Toyota)
เครื่องมือพิเศษซ่อมลูกหมากปีกนก
เครื่องมือพิเศษซ่อมแกนพวงมาลัย
เครื่องมือพิเศษซ่อมกระปุกพวงมาลัย
หม้อลมเบรก
3. ความปลอดภัยในงานเครื่องล่าง
4. การยกรถด้วยแม่แรงและด้วยลิฟต์ยกรถให้ปลอดภัย
การยกรถด้วยแม่แรง
การยกรถด้วยลิฟต์ยกรถ
เครื่องยนต์มีส่วนประกอบอยู่มาก และชิ้นส่วนเหล่านั้นเป็นโลหะ มีการเคลื่อนไหว
สัมผัสผิวอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เกิดการเสียดสีและการกระทบกระแทกของชิ้นส่วน
นอกจากนั้น ยังเกิดความร้อนจากการเผาไหม้ในกระบอกสูบอีกด้วย จึงจำเป็นต้องมีระบบหล่อ
ลื่น หากเครื่องยนต์ขาดการหล่อลื่นระหว่างการทำงานแล้ว ส่วนประกอบไม่อาจทนทานต่อการ
เสียดสีหรือความร้อนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องได้
ในทำนองเดียวกัน เครื่องยนต์จำเป็นต้องมีระบบระบายความร้อน ระบายความร้อน
ส่วนเกินออกจากเครื่องยนต์ เพื่อรักษาส่วนประกอบของเครื่องยนต์และน้ำมันเครื่องไม่ให้ร้อนจัด
เรื่องระบบหล่อลื่นระบายความร้อน
1. สาระสำคัญประจำหน่วย
2. หน้าที่น้ำมันเครื่องและระบบหล่อลื่นเครื่องยนต์เบนซินเล็ก 4 จังหวะ
หน้าที่น้ำมันเครื่อง
ระบบหล่อลื่นเครื่องยนต์แบบวิดสาด
ระบบหล่อลื่นแบบปั๊มใบพัด
3. ระบบไฟเตือนน้ำมันเครื่องแห้งในเครื่องยนต์เบนซินเล็ก
หน้าที่ระบบไฟเตือนน้ำมันเครื่องแห้ง
การทำงานของสวิตช์น้ำมันเครื่อง
การทำงานของวงจรไฟเตือนน้ำมันเครื่องแห้ง
ระบบระบายไอน้ำมันเครื่อง
4. ระบบหล่u3629 .ลื่นเครื่องยนต์เบนซินเล็ก 2 จังหวะ
แบบใช้น้ำมันเบนซินผสม
แบบออโต้ลู้บ
เรื่องงานตรวจสภาพและบำรุงรักษาเครื่องยนต์เบนซินเล็ก
1. สาระสำคัญประจำหน่วย
2. ตารางบำรุงรักษาเครื่องยนต์และการบริการหล่อลื่น
ตารางบำรุงรักษาเครื่องยนต์
ตำแหน่งหมายเลขเครื่องยนต์
งานเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
งานทำความสะอาดไส้กรองอากาศ
3. งานบริการไฟจุดระเบิดและตั้งลิ้น
งานทำความสะอาด / ปรับตั้งเขี้ยวหัวเทียน
การทำความสะอาดที่กรองเบนซิน
งานทำความสะอาดห้องเผาไหม้/บดลิ้น
งานปรับตั้งจังหวะจุดระเบิดแบบทองขาว
งานปรับตั้งจังหวะจุดระเบิดแบบทรานซิสเตอร์
การตรวจสอบคอยล์ซีดีไอของ HONDA GXV 140
งานปรับตั้งลิ้น
4. งานบริการปรับตั้งเดินเบาและปรับตั้งกาวานา
งานปรับตั้งเดินเบาคาร์บูเรเตอร์
งานปรับตั้งกาวานา
5. งานตรวจวัดกำลังอัดและตรวจประกายไฟหัวเทียน
งานตรวจกำลังอัดในกระบอกสูบ
งานทดสอบประกายไฟแรงสูง
งานตรวจซ่อมเครื่องยนต์เบนซินเล็ก 4 จังหวะ
1. สาระสำคัญประจำหน่วย
2. ลำดับถอดแยกชิ้นส่วนเครื่องยนต์เบนซินเล็ก
3. งานถอดประกอบชุดสตาร์ตและล้อแม่เหล็ก
4. งานถอดประกอบชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์และฝาสูบ
5. งานตรวจระบบไฟจุดระเบิด
6. งานตรวจขนาดและประกอบชิ้นส่วนตามข้อมูลทางเทคนิค
งานตรวจซ่อมเครื่องยนต์ เป็นงานประณีตลึกซึ้งที่ต้องมีค่าใช้จ่ายแพง สามารถ
ประเมินผลการซ่อมได้จากการติดเครื่องยนต์หลังงานประกอบเครื่องยนต์ หรือหลังจากการใช้
เครื่องยนต์ไประยะหนึ่ง
ช่างตรวจซ่อมเครื่องยนต์ต้องมีทั้งความรู้และทักษะ เป็นวิทยายุทธ์สุดยอดของผู้เรียน
ช่างยนต์ ผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียร มีความตั้งใจจริง ใฝ่หาความรู้จริง หรือเป็นผู้ที่เคยช่วยงาน
ในอู่รถที่เป็นอาชีพของครอบครัวเท่านั้นจึงจะทำได้
เรื่องงานตรวจซ่อมเครื่องยนต์เบนซินเล็ก 4 จังหวะ
1. สาระสำคัญประจำหน่วย
2. ลำดับถอดแยกชิ้นส่วนเครื่องยนต์เบนซินเล็ก
ลำดับของการถอดส่วนประกอบต่าง ๆ เพื่อให้สะดวก ปลอดภัยและประหยัดเวลา
งานถอดและประกอบถังน้ำมันเบนซิน (Honda)
งานถอดประกอบกรองอากาศและท่อไอเสีย
งานถอดและประกอบคาร์บูเรเตอร์
งานถอดและประกอบแขนกาวานา
3. งานถอดประกอบชุดสตาร์ตและล้อแม่เหล็ก
งานถอดและประกอบชุดสตาร์ต
งานถอดและประกอบชุดสตาร์ตเครื่องยนต์
งานถอดและประกอบล้อแม่เหล็ก
4. งานถอดประกอบชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์และฝาสูบ
งานถอด ประกอบฝาครอบเสื้u3629 .สูบ เพลาข้อเหวี่ยงและลูกสูบ
งานถอด ประกอบฝาครอบแคร้งและกาวานา
งานถอด ประกอบฝาสูบและลิ้น

6. งานตรวจขนาดและประกอบชิ้นส่วนตามข้อมูลทางเทคนิค
งานตรวจความกว้างของบ่าลิ้น
งานปาดบ่าลิ้น
งานถอด ประกอบ และตรวจวัดขนาดลูกสูบและแหวนลูกสูบ
งานวัดขนาดลูกสูบ
งานวัดขนาดกระบอกสูบ
งานวัดความหนาของแหวนลูกสูบ
งานวัดระยะเบียดข้างแหวนกับร่องแหวน
งานวัดระยะห่างปากแหวนลูกสูบ
งานตรวจระยะห่างหล่อลื่นฐานก้านสูบกับเพลาข้อเหวี่ยง
งานวัดระยะรุนก้านสูบกับเพลาข้อเหวี่ยง
งานวัดขนาดเพลาข้อเหวี่ยง
งานประกอบและติดเครื่อง
การบริการเครื่องตัดหญ้าก็เหมือนการบริการเครื่องยนต์หรือเครื่องทุ่นแรงอื่น ๆ เมื่อ
วิเคราะห์อาการหรือปัญหาสาเหตุข้อขัดข้องจากผู้ใช้เครื่องตัดหญ้าและตรวจสภาพแล้ว ต้อง
พิจารณาลำดับปฏิบัติที่จะต้องใช้เวลาแก้ไขสั้นที่สุดอย่างตรงจุด โดยลำดับจากภายนอกสู่ภายใน
เครื่อง เปลี่ยนชิ้นส่วนตามจำเป็น ให้ประหยัดทั้งเวลาซ่อมและราคาค่าบริการ ได้ผลงานบริการ
ที่ไว้ใจได้และใช้งานได้อย่างปลอดภัย
เรื่องการบริการส่วนประกอบภายนอกเครื่องตัดหญ้า
1. สาระสำคัญประจำหน่วย
2. การบริการชุดสตาร์ตและถังน้ำมันเบนซิน
งานถอดและประกอบชุดสตาร์ตเครื่องยนต์
งานถอดแยกชิ้นส่วนชุดสตาร์ตเครื่องยนต์
งานประกอบชิ้นส่วนชุดสตาร์ตเครื่องยนต์
3. การบริการฝาครอบเครื่องยนต์และท่อไอเสีย
งานถอดและประกอบฝาครอบเครื่องยนต์
งานถอดและประกอบท่อไอเสีย
4. การบริการล้อสตาร์ตและฝาครอบชุดคลัตช์
งานถอดและการประกอบชิ้นส่วนล้อสตาร์ต
งานถอดและประกอบฝาครอบชุดคลัตช์
5. การบริการคอยล์ ผ้าคลัตช์และล้อแม่เหล็ก
ถอดคอยล์
งานถอดผ้าคลัตช์และล้อแม่เหล็ก
งานถอดและประกอบชุดคลัตช์
งานถอดล้อแม่เหล็ก
งานประกอบชิ้นส่วนล้อแม่เหล็ก
การประกอบชิ้นส่วนคอยล์
งานตรวจคอยล์
งานตรวจชุดคลัตช์
งานปรับตั้งระยะห่างระหว่างคอยล์กับล้อแม่เหล็ก
การซ่อมเครื่องยนต์เบนซินเล็ก ต้องใช้ทักษะเฉพาะ การจะซ่อมเครื่องยนต์เบนซินเล็ก
ให้เป็นและใช้งานได้ จะต้องเข้าใจหน้าที่และหลักการทำงานระบบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ มี
ความมานะอดทน ทำงานประณีตและทำหลาย ๆ ครั้ง จนเกิดความรู้ความชำนาญ สามารถซ่อม
เครื่องยนต์ให้ใช้งานได้อย่างดีและปลอดภัย
เรื่องการซ่อมเครื่องยนต์เบนซินเล็กของเครื่องตัดหญ้า
1. สาระสำคัญประจำหน่วย
2. การถอดประกอบชิ้นส่วนเครื่องยนต์ด้านล่าง
งานถอดแยกชิ้น
งานประกอบลิ้นระบายน้ำมันออกและแผ่นกั้น
งานประกอบฉนวนคาร์บูเรเตอร์
3. การถอดประกอบเพลาข้อเหวี่ยงและลูกสูบ
การประกอบแหวนลูกสูบ
งานถอดสลักลูกสูบ
งานประกอบสลักลูกสูบ
4. การถอดประกอบฝาสูบและลิ้น
งานถอดแยกชิ้นฝาสูบ
 งานประกอบฝาครอบเฟืองลูกเบี้ยว
งานตรวจฝาครอบลิ้นและเสื้อสูบ
เครื่องยนต์ดีเซลเล็ก หรือเรียกเครื่องยนต์ดีเซลอเนกประสงค์เป็นเครื่องยนต์ 1สูบ ขนาด
ประมาณ 10 แรงม้า มีทั้งแบบสูบนอนและสูบยืน สำหรับที่ใช้กันแพร่หลายทั้งงานชาวไร่ชาวนา
และเครื่องปั่นไฟในประเทศไทย เป็นเครื่องยนต์สูบนอนแทบทั้งนั้น เพราะเป็นเครื่องยนต์ที่
ผลิตในประเทศ หาซื้อง่าย อะไหล่หาไม่ยาก เครื่องยนต์สูบนอนที่นำเข้าจากประเทศจีนราคาถูก
แต่ขาดความนิยม
ตั้งแต่ พ.. 2517 เป็นต้นมา เกษตรกรไทยเริ่มตื่นตัวใช้เครื่องทุ่นแรงแทนการ
ใช้ แรงงานสัตว์เป็นอย่างมาก แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักวิธีใช้งานเครื่องยนต์ได้ถูกต้อง
ตามหลักวิชาการ รวมทั้งการแก้ไขข้อขัดข้องและการบำรุงรักษาที่เหมาะสม หากเกษตรกร
รู้จักวิธีใช้และบำรุงรักษาที่ดี และเหมาะสมกับสภาพสิ่งแวดล้อมแล้ว ประสิทธิภาพเครื่องยนต์
จะเดินเรียบ ประหยัดน้ำมันและอายุการใช้งานเครื่องยนต์จะยาวนานขึ้น ไม่เสียเวลาซ่อมแซม
โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และยังให้ประโยชน์คุ้มค่าทางเศรษฐกิจอีกด้วย
เรื่องหลักการทำงานและส่วนประกอบเครื่องยนต์ดีเซลเล็ก
1. สาระสำคัญประจำหน่วย
2. หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จั_________งหวะ
เครื่องยนต์ดีเซลดูดอากาศเปล่า ๆ เข้าไปเป็นไอดี ปั๊มดีเซลส่งน้ำมันดีเซลให้หัวฉีด
ด้วยปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของเครื่องยนต์ฉีดเข้าไปในห้องเผาไหม้ ความร้อนที่
เกิดจากการอัดตัวของอณูอากาศในห้องเผาไหม้ที่ถูกอัดด้วยอัตราอัดสูง 15: 1 ถึง 23:1 สูง
700° 900° . พอที่จะจุดระเบิดได้ด้วยตนเอง ดีเซลจึงมีหน้าที่ดังนี้
ส่งน้ำมันให้หัวฉีดด้วยปริมาณที่พอเหมาะ ตรงตามภาระของเครื่องยนต์
ควบคุมให้เริ่มฉีดน้ำมันดีเซลตรงตำแหน่งสัมพันธ์กันระหว่างความเร็วรอบของ
เพลา ข้อเหวี่ยงกับปั๊มดีเซล
คุณลักษณะเครื่องยนต์ดีเซลเล็ก
เครื่องยนต์ดีเซลเล็ก เช่น เครื่องยนต์ทุ่นแรงการเกษตร หรือเครื่องใช้ในโรงงานอุตสา-
หกรรม ถังน้ำมันดีเซลอยู่สูงกว่าเครื่องยนต์ ไม่ต้องใช้ปั๊มดูดน้ำมันดีเซล น้ำมันดีเซลจากถัง
น้ำมันไหลผ่านหม้อกรองน้ำมันเข้าสู่ปั๊มดีเซลได้เอง
การไล่ลมวงจรน้ำมันดีเซล
การไล่ลมวงจรน้ำมันดีเซลเล็กก็ทำได้ง่าย เพียงคลายสกรูไล่ลมที่หม้อกรองน้ำมัน
ดีเซล หรือปั๊มดีเซล น้ำมันดีเซลจะไหลออกพร้อมฟองอากาศ การที่ติดตั้งถังน้ำมันดีเซลอยู่บน
เครื่องยนต์ทำให้กะทัดรัดและปลอดภัยต่อการสั่นสะเทือน

เรื่องระบบน้ำมันดีเซลและกาวานาเครื่องยนต์ดีเซลเล็ก
1. สาระสำคัญประจำหน่วย
2. การทำงาu3609 .และการไล่ลมวงจรน้ำมันดีเซลความดันต่ำ
ทิศทางการไหลน้ำมันดีเซล
หม้อกรองน้ำมันดีเซล
การไล่ลมออกจากระบบน้ำมันดีเซล
3. การทำงานของปั๊มดีเซลเครื่องยนต์ดีเซลเล็ก
ส่วนประกอบปั๊มดีเซล
ชุดลูกปั๊ม (Element)
การขึ้นลงของลูกปั๊ม
ลูกปั๊มควบคุมการจ่ายน้ำมัน
ตำแหน่งตัดน้ำมัน
ตำแหน่งเร่งปานกลาง
ตำแหน่งเร่งสุด
หน้าที่ลิ้นส่งน้ำมัน
หลักการทำงานของลิ้นส่งน้ำมัน
4. การทำงานของกาวานาเครื่องยนต์ดีเซลเล็ก
หน้าที่กาวานา
หลักการทำงานพื้นฐาน
5. การทำงานของหัวฉีดน้ำมันดีเซล
หน้าที่ของหัวฉีด
นมหนูแบบรู (Hole Nozzle)
นมหนูแบบเดือย (Pintle Nozzle)
ปรับแรงฉีดน้ำมัน
ลักษณะลำละอองน้ำมันของนมหนูแบบเดือย
ข้อมูลทางเทคนิคเป็นข้อมูลจำเป็นที่ต้องศึกษา เพื่อนำไปประกอบการใช้และการซ่อม
เครื่องยนต์ ตลอดจนการจัดซื้ออะไหล่เครื่องยนต์ด้วย
พิกัดขนาดซ่อม เป็นพิกัดสำหรับการซ่อมเครื่องยนต์ตามผู้ผลิตกำหนด เพื่อให้
เครื่องยนต์ที่ซ่อมแล้ว สามารถใช้งานได้ทนทานอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
การใช้เครื่องยนต์ให้เป็น จะเกิดประโยชน์คุ้มค่าการหาซื้อมาด้วยราคาแพง ใช้งานได้
คงทนและปลอดภัย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมบ่อย โดยเฉพาะช่วงหน้างาน หาก
เครื่องยนต์เกิดขัดข้อง จะขัดข้องทั้งการเงินและเสียเวลาการทำงาน
เรื่องข้อมูลทางเทคนิคและการใช้เครื่องยนต์ดีเซลเล็ก
1. สาระสำคัญประจำหน่วย
2. ข้อมูลทางเทคนิคและพิกัดการซ่อมเครื่องยนต์
ข้อมูลทางเทคนิคเครื่องยนต์ดีเซลเล็ก
3. การคำนวณการส่งกำลังเครื่องทุ่นแรงด้วยสายพาน
การส่งกำลังด้วยล้อสายพาน
การเลือกใช้ล้อสายพาน
4. ข้อควรระวังและการเตรียมติดเครื่องยนต์
ไอเสียมีแก๊สพิษ
การบริการสายพาน
การตรวจฐานเครื่องยนต์และแนะนำการใช้งาน
การตรวจเติมน้ำมันดีเซล
การตรวจเติมน้ำมันเครื่อง
การตรวจหม้อกรองอากาศ
การตรวจเติมน้ำu3619 .ะบายความร้อน
การตรวจสายพานพัดลม
5. การติดเครื่องยนต์และการใช้เครื่องยนต์
วิธีติดเครื่องยนต์
วิธีการใช้เครื่องยนต์และการตรวจระหว่างใช้งาน
อ้างอิงจาก http://www.bpic.ac.th/E-Learnning/mv/b7.php